พืชไร้ดิน,ไฮโดรโปนิกส์,ผักไม่ใช้ดิน,ผักไร้ดิน,พืชไร้ดินHydroponics,ปลูกพืชไม่ใช้ดิน,ไฮโดรโปนิค,ชุดปลูกผัก,ปุ๋ยAB,โรงเรือน,รับทำโรงเรือน

ทําไมต้องปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์

27 ธันวาคม 2555

เริ่มโดย Hydrohobby Hydroponic ใน กูรู แก้ไขล่าสุด 29 เมษายน 2557

เข้าชม 4135

ทําไมต้องปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์
ไฮโดรโพนิกส์

เป็นทางเลือกหนึ่งของการปลูกพืชให้มีคุณภาพ มีความสมํ่าเสมอ ผลผลิตสูงสามารถวางแผนการปลูกได้กําหนดปริมาณการผลิตให้เป็นไปตามเป้า หมาย    หรือความต้องการของตลาดได้ดีกว่า เนื่องจากสามารถควบคุมปัจจั ยต่างๆ ที่ให้แก่พืชได้อย่างเหมาะสม ทําให้ปลูกพืชได้อย่างต่อเนื่อง  สําหรับประเทศไทยนั้นมีความเป็นไปได้ที่จะนํา วิธีการปลูกพืชแบบนี้มาใช้ทํา ให้สามารถปลูกพืชในพื้นที่ที่ไม่มีดินหรือดินมีปัญหา บริเวณรอบๆเมืองใหญ่ ผู้คนอยู่หนาแน่น การปลูกแบบไฮโดรโพนิกส์จะใช้พื้นที่น้อยแต่ให้ผลผลิตมาก เป็นระบบที่ง่ายไม่ยุ่งยากหาและดัดแปลงวัสดุอุปกรณ์ได้ ภายในประเทศเพื่อลดทุนเนื่องจากในปัจจุบันคนไทยหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ทํา ให้ผักเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมมากขึ้น   ส่งผลให้ปริมาณการบริโภคผักในแต่ละปีมีมูลค่าสูงถึง 80,000 ล้านบาท  แม้ว่าประเทศไทยจะเป็นประเทศ เกษตรกรรม แต่ก็ยังต้องนําเข้าผักจากต่างประเทศ  เช่นผักเมืองหนาวต่างๆ เนื่องจากเป็นผักที่ไม่สามารถ ปลูกได้ภายในประเทศ หรือปลูกได้แต่ผลผลิตตํ่า
ผักเมืองหนาวเป็นผักชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมจาก ผู้บริโภคไม่น้อยเนื่องด้วยรสชาติ และความกรอบอร่อยของผัก  ประกอบกับกระแสความนิยมบริโภคอาหารตะวันตก ส่งผลให้มีการบริโภคผักเมืองหนาวสูงขึ้นด่วย แต่การปลูกผักเมืองหนาวต้องปลูกในบริเวณภาคเหนือของประเทศเนื่องด้วยข้อจํากัดทางด้านดิน ฟ้า อากาศ และอุณหภูมิ  แม้จะมีการใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงอย่างแพร่หลายแต่ผลผลิตที่ได้ก็ยังไม่ดี และไม้เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ อีกทั้งผลผลิตที่ได้ก็ไม่สมํ่าเสมอตลอดทั้งปี ทําให้ต้องมีการนําเข้าจากต่างประเทศ  แล้วยังมีผู้ผลิตภายในประเทศเพียงไม่กี่ราย  อย่างไรก็ตามในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้นําเทคโนโลยีที่ทําให้สามารถปลูกผักเมืองหนาวได้แม้ในพื้นที่มีอากาศร้อนอุณหภูมิสูงก็ตามเข้ามาใช้ โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า Hydroponics มาช่วยในการปลูก ซึ่งนอกจากจะช่วยให้สามารถปลูกผักเมืองหนาวในเขตภาคกลางหรือในพื้นที่ที่อากาศร้อนได้แล้ว ยังได้ผล ผลิตที่ดีและสมํ่าเสมอไม่ขึ้นกับฤดูกาล เก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็วขึ้น ผักที่ได้ยังเป็นผักปลอดสารพิษอีกด้วย 
   
ผักไฮโดรโปนิกส์ปลอดภัยจริงหรือ

เรื่องความปลอดภัยของการบริโภคผักที่ปลูกในสารละลายธาตุอาหาร เป็นสิ่งที่ถูกถามกันมากคำถามหนึ่ง ด้วยความกังวลที่ว่าผักที่ปลูกแบบไฮโดรโพนิกส์นี้ต้องแช่หรือสัมผัสกับสารละลายธาตุอาหารซึ่งจัดเป็นสารเคมีอย่างหนึ่งอาจดูดเคมีนั้นขึ้นไปสะสม เมื่อผู้บริโภครับประทานเข้าไปอาจทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้หรือไม่   

โดยเฉพาะอย่างยิ่งมักจะนำไปเปรียบเทียบกับการปลูกพืชในดินแบบให้ปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด หรือปุ๋ยคอก) แต่ในความเป็นจริงแล้ว พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่ดูดกินอาหารผ่านทางรากในรูปของแร่ธาตุที่อยู่ในรูปของอิออน หรือ ประจุ (ion) เท่านั้น  ซึ่งมีทั้งธาตุประจุบวก ได้แก่ NH4+, K+, Ca+2, Mg+2 , Fe+2 เป็นต้น และธาตุประจุลบ ได้แก่  NO3-, SO4-2,  H2PO4-, BO3-3   

ดังนั้น แม้ว่าเราจะปลูกพืชลงในดินแล้วทำการให้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยนั้นจะยังไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชจนกว่าจะถูกการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ในดินจนกระทั่งเปลี่ยนเป็นแร่ธาตุต่างๆที่แตกตัวเป็นอิออนละลายอยู่ในน้ำในดิน หรือจนกว่าปุ๋ยเคมีเม็ด นั้นจะแตกตัวละลายกลายเป็นแร่ธาตุอยู่ในสารละลายดินเช่นกัน รากพืชจึงดูดไปใช้ได้

สรุปก็คือ ไม่ว่าเราจะปลูกพืชในดินหรือในสารละลาย พืชก็ดูดใช้อาหารในรูปของประจุของแร่ธาตุ (ซึ่งบางคนเรียกว่าเป็นเคมี) เหมือนๆกัน ก่อนที่แร่ธาตุเหล่านั้นจะถูกพืชนำไปใช้สร้างสารประกอบอินทรีย์โมเลกุลใหญ่อื่นๆ ได้แก่ เป็นแป้ง โปรตีน ไขมัน วิตามิน ต่างๆ ให้มนุษย์นำมารับประทานอีกที  ดังนั้น หากเราไม่กังวลที่จะรับประทานผักที่ปลูกจากดินและใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เราก็ไม่ควรที่จะกังวลกับการบริโภคผักที่ปลูกในสารละลาย เช่นกัน

 ส่วนเรื่องการสะสมของไนเตรทที่เป็นอนุมูลของไนโตรเจนที่มีอยู่มากในสารละลาย ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มักมีผู้สงสัย ไนเตรทเป็นอนุมูลไนโตเจนที่พืชต้องการและดูดใช้มากในช่วงพัฒนาด้านลำต้น กิ่งใบ  หากเราเก็บเกี่ยวพืชที่ยังอยู่ในช่วงกำลังพัฒนาทางด้านลำต้นอยู่ ไม่ว่าจะปลูกแบบไฮโดรโพนิกส์ หรือปลูกในดิน ก็จะต้องพบว่ามีไนเตรทอยู่บ้างไม่มากก็น้อย  แต่หากมีไม่เกิน 2500-3000 มก.ต่อ 1 กก น้ำหนักสดของผัก ก็ยังถือว่าปลอดภัยครับ

เคยมีรายงานว่าพบการสะสมไนเตรทในระดับที่ไม่ปลอดภัยต่อการบริโภคทั้งการปลูกในสารละลาย (วุฒิพงษ์, 2545: ปัญหาพิเศษปริญญาโท มก) และที่ปลูกในดิน (Patcharaporn et al., 2001 : Thai J. Agric. Sci 35(3) )

ดังนั้นปริมาณการสะสมไนเตรทจึงไม่ได้ขึ้นกับว่าปลูกในอะไร แต่น่าจะขึ้นกับว่าปลูกอย่างไร กรณีปลูกในสารละลาย ปริมาณการสะสมไนเตรทในต้นพืชขึ้นกับความเข้มข้นของอนุมูลไนเตรทที่อยู่ในสารละลายที่ใช้ปลูกพืช และอัตราการใช้อนุมูลไนเตรทของพืชที่นำไปเปลี่ยนเป็นกรดอะมิโนกลูตามินซึ่งต้องใช้โมเลกุลของน้ำตาลที่มาจากการสังเคราะห์แสงร่วมด้วย  

ข้อดีประการหนึ่งของประเทศไทยคือที่มีแสงแดดจัด พืชจึงอัตราการสังเคราะห์แสงจึงค่อนข้างสูง ทำให้อัตราการเปลี่ยนแปลงไนเตรทเป็นกรดอะมิโนกลูตาเมทเกิดขึ้นค่อนข้างเร็ว และในการปลูกแบบไฮโดรโพนิกส์ ในการปลูกที่ดีต้องมีการควบคุมระดับความเข้มข้นที่เหมาะสมทุกๆวัน ถ้าพืชมีการจริญเติบโตและสังเคราะห์แสงที่เป็นปกติโอกาสที่จะเกิดการสะสมไนเตรทจนถึงระดับที่ไม่ปลอดภัยต่อการบริโภคจึงไม่น่าเกิดขึ้น และยังสามารถลดไนเตรทก่อนเก็บเกี่ยวได้ง่ายๆ โดยการงดให้ธาตุอาหาร 1 -2 วัน ก่อนเก็บเกี่ยว  ในทางกลับกันการปลูกในดินกลับควบคุมได้ยากกว่า ครับ

 

ผู้เขียน : ผู้ช่วยศาสตราจาย์ ดร.ธรรมศักดิ์ ทองเกตุ

รองประธานชมรมปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินแห่งประเทศไทย  

Bookmark and Share
Advertising Zone    Close
 
Online:  1
Visits:  2,262,614
Today:  33
PageView/Month:  1,771

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com